กระบวนการ UPR

รายงานประเทศ

ประเทศไทยนำเสนอรายงานฉบับแรกด้วยวาจาเมื่อปี 2554 โดยได้รับข้อเสนอแนะ 134 ข้อ และประกาศคำมั่นเพิ่มเติมโดยสมัครใจอีก 8 ข้อ

วิธีการจัดทำรายงาน

การสร้างความตระหนักรู้

ภายหลังการนำเสนอรายงานรอบแรก ได้มีการแปลรายงานประเทศพร้อมด้วยข้อเสนอแนะ ที่ไทยรับไปปฏิบัติเป็นภาษาไทย และเผยแพร่ต่อสาธารณะ ซึ่งรวมถึงการเผยแพร่บนเว็บไซต์ นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดสัมมนาเพื่อแจ้งให้หน่วยงานและภาคประชาสังคมทราบถึงผล การนำเสนอรายงาน

การติดตามการนำไปปฏิบัติและการเสริมสร้างขีดความสามารถ

ภายหลังการนำเสนอรายงาน ได้มีการขยายอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกำกับดูแลการจัดทำรายงานประเทศและติดตามการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะภายใต้กลไก UPR ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ให้รวมถึงการติดตามกระบวนการนำไปปฏิบัติ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้ประชุมหารืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการ ช่องว่างที่ยังต้องผลักดันเพิ่มเติม และสิ่งท้าทาย

คณะกรรมการฯ ได้จัดทำแผนการปฏิบัติขึ้น เมื่อปี 2556 เพื่อเป็นคู่มือสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ไทยได้รับและคำมั่นโดยสมัครใจ โดยมีการระบุกรอบเวลาและหน่วยงานรับผิดชอบในแต่ละประเด็น นอกจากนี้ แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (ปี 2557-2561) ยังได้รวมข้อเสนอแนะจากกลไก UPR เพื่อช่วยให้การปฏิบัติ ตามข้อเสนอแนะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อเดือนมิถุนายน 2557 รัฐบาลไทยได้ส่งรายงานการปฏิบัติตาม UPR ระยะกลางรอบโดยสมัครใจ ต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวช่วยใน การติดตามพัฒนาการการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง รวมถึงรักษาไว้ซึ่งความสนใจในการผลักดันประเด็นภายใต้กลไก UPR ระหว่างการเสนอรายงานรอบแรกและรอบที่ 2

ประเทศไทยเชื่อว่าการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความช่วยเหลือทางวิชาการเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เกิดการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่มีประสิทธิภาพ



อ่านต่อเพิ่มเติม หรือ ดาวน์โหลดเอกสารที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่