กระบวนการ UPR

รายงานประเทศ

ระเบียบวิธีการจัดทำรายงาน

ขั้นตอนการร่างรายงาน

รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นตามแนวทางของข้อมติคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ที่ 5/1 ที่ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2550 โดยช่วงปี พ.ศ. 2551-2552 รัฐบาลได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขึ้นเป็นระยะเพื่อเสริมสร้างความตระหนักและความคุ้นเคยกับกระบวนการ Universal Periodic Review (UPR) ให้แก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการประชุมที่ร่วมจัดกับทีมงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย ซึ่งทำให้ประเทศไทยได้มีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์การจัดทำรายงาน UPR ของประเทศอื่นๆ

ประเทศไทยได้พยายามให้ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำรายงาน UPR อย่างกว้างขวางและครอบคลุมเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยมีกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงยุติธรรมร่วมเป็นหน่วยงานเจ้าภาพหลักในการจัดทำรายงาน โดยได้เริ่มจัดการหารืออย่างไม่เป็นทางการกับผู้แทนภาคประชาสังคมครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 เพื่อหารือเกี่ยวกับโครงร่างรายงานของประเทศไทย จากนั้นได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการจัดทารายงานประเทศภายใต้กลไก UPR รวมทั้งได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้น 2 ชุด ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนการจัดทำรายงาน UPR ของไทย


กระบวนการหารือ

ในช่วงก่อนการยกร่างรายงานไทยได้จัดคลินิกหารือกลุ่มย่อยจานวน 14 ครั้งโดยมีผู้แทนภาครัฐที่เกี่ยวข้อง พร้อมด้วยผู้แทนจากภาคประชาสังคม (นักวิชาการและองค์กรเอกชน) เข้าร่วมเพื่อหารือเชิงลึกในประเด็นต่าง ๆ ที่ควรอยู่ในรายงานของประเทศไทย และเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับความสำเร็จและความท้าทายในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของไทย

ไทยได้จัดเวทีรับฟังความเห็นจากประชาชน ทั้งในกรุงเทพมหานครและใน 4 ภูมิภาคของประเทศ รวมทั้งได้ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำร่างรายงานผ่านสื่อวิทยุและทางเว็บไซต์ โดยได้นาร่างรายงาน UPR ของประเทศไทยขึ้นบนเว็บไซต์ของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายงานและแสดงความคิดเห็นได้อย่างกว้างขวาง จากนั้นได้มีการปรับแก้ร่างรายงานซึ่งคณะกรรมการกำกับดูแลการจัดทารายงานประเทศได้รับรองก่อนที่จะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ

รายงาน UPR ของประเทศไทยเป็นกระบวนการตรวจสอบตัวเอง โดยได้นาเสนอทั้งความสาเร็จและ ความท้าทายเพื่อใช้เป็นตัววัดความก้าวหน้าในการดาเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของไทยในอนาคต รวมทั้งได้ใช้โอกาสของกระบวนการยกร่างรายงานผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าในประเด็นต่างๆ ที่ยังคั่งค้าง โดยได้มีการเสนอประเด็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนให้คณะรัฐมนตรีรับทราบและตระหนักถึงความจาเป็นในการเร่งปรับปรุงแก้ไขเรื่องดังกล่าว ดังนั้น กระบวนการ UPR ของไทย ไม่ได้มุ่งเฉพาะการทบทวนเท่านั้น แต่ยังมุ่งให้ประชาชนภายในประเทศได้รับประโยชน์จากกระบวนการ UPR อย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย



อ่านต่อเพิ่มเติม หรือ ดาวน์โหลดเอกสารที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่