ข่าวและกิจกรรม

มหาวิทยาลัยมหิดล และเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศเปิดตัวรายงานด้านสิทธิมนุษยชนศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

22/11/2013

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2556 มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network – AUN) และกระทรวงการต่างประเทศ
เปิดตัวรายงาน “The Mapping and Analysis of Human Rights and Peace Education in Southeast Asia” โดยมีผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตประเทศต่าง ๆ ประจำประเทศไทย องค์การระหว่างประเทศ สถาบันการศึกษา และหน่วยงานภาคประชาสังคม เข้าร่วมจำนวนมาก

นายมนัสวี ศรีโสดาพล รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวเปิดงานโดยย้ำถึงความสำคัญของ การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนต่อการสร้างประชาคมอาเซียน และกล่าวถึงความมุ่งหวังของไทยในการเป็นแหล่งความรู้ (resource hub) ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาในภูมิภาค โดยไทยพร้อมที่จะร่วมมือกับหุ้นส่วนในภูมิภาคเพื่อ เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในประเด็นสิทธิมนุษยชน

ผู้เข้าร่วมงานได้รับฟังปาฐกถาพิเศษโดย ศาสตราจารย์วิทิต มันตาภรณ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของไทย
ซึ่งกล่าวถึงสิ่งสำคัญที่ต้อง คำนึงถึงในการสอนสิทธิมนุษยชนศึกษา ได้แก่

สอนอะไร
พิจารณาว่าประวัติศาสตร์ส่วนใด เกี่ยวกับการส่งเสริม และพิทักษ์สิทธิมนุษยชน ควรได้รับการสอน พร้อมทั้งเปิดรับความรู้และความคิดเห็นใหม่ ๆ โดยการอ่านข้อมูล จากหลายแหล่งเพื่อส่งเสริมความเข้าใจประวัติศาสตร์


สอนอย่างไร
วิธีการสอนควรเป็นแบบประชาธิปไตย คือ เปิดรับความเห็นของนักเรียน ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างการเรียน


ใครสอนและสอนใคร
ทุกคนสามารถสอนสิทธิมนุษยชนได้โดยการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ให้ความสำคัญกับการสอนสิทธิมนุษยชนแก่ ผู้บังคับใช้กฎหมาย อาทิ ทหารและตำรวจ และจากประสบการณ์พบว่า ผู้บังคับใช้กฎหมายส่วนใหญ่มีความ กระตือรือร้นที่จะทราบแนวปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อไม่ให้ถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน


ที่ไหนและเมื่อไร
ควรเริ่มต้นจากตนเอง เริ่มตั้งแต่อายุยังน้อย และเริ่มจากระดับชุมชน เน้นวิธีการเรียนรู้โดยปฏิบัติ และเห็นว่า รัฐบาล ควรจัดงบประมาณระดับชาติและส่งเสริมให้สิทธิมนุษยชนศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการศึกษา



อ่านเพิ่มเติม



เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ย้อนกลับ