ข่าวและกิจกรรม

สรุปคำกล่าวโดยนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี งานเปิดตัวแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 3

12/02/2015

บรรยากาศงานเปิดตัวแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 3

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ได้จัดงานเปิดตัว " แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 3 : สานพลัง ส่งเสริมสิทธิ สร้างสังคม สู่สันติสุข " ณ หอประชุมกองทัพเรือ กรุงเทพฯ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม สรุปคากล่าวเปิดงาน ดังนี้

สิทธิมนุษยชน (Human Rights) เป็นสิ่งจาเป็นและทวีความสาคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน แนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนได้เข้ามาในประเทศไทยนานแล้ว ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ให้การรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ โดยได้ลงนามในกติกาและอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน 7 ฉบับ จาก 9 ฉบับ นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญชั่วคราวที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบันก็มีบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพตามความหมายของสิทธิมนุษยชนโดยระบุถึงการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตามมาตรฐานระหว่างประเทศในบริบทของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 3 มีการจัดทาโดยความละเอียดรอบคอบ และมีความสมบูรณ์มากกว่าสองแผนที่ผ่านมา เนื่องจากมีการรับฟังความเห็นจากภาคประชาชนมากขึ้น และมีสาระครอบคลุมที่กว้างขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 15 กลุ่ม ซึ่งมากกว่าสองแผนที่ผ่านมาเช่นกัน นอกจากนั้นแผนสิทธิฯ ฉบับที่ 3 ยังตอบประเด็นที่เคยเป็นข้อห่วงกังวลทั้งจากต่างประเทศและในสังคมไทยได้เกือบทุกข้อ โดยเป็นการแสดงท่าทีของไทยที่ชัดเจน รวมถึงมีเอกสารประกอบพร้อมรายละเอียด คณะรัฐมนตรีจึงมีมติรับรองแผนสิทธิฯ ฉบับที่ 3 โดยมอบกระทรวงยุติธรรมไปดาเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อการขับเคลื่อนที่เกิดผลเป็นรูปธรรม

อย่างไรก็ดี ในการผลักดันการปฏิบัติ กระทรวงยุติธรรมจะดาเนินการตามหลักการ 4 ด้าน หรือที่เรียกว่า "หลัก 4 ส." ดังนี้

สานพลัง (Joint Cooperation)
การระดมความร่วมมือจากเครือข่ายภาคีสมาชิก กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรอื่น ๆ ที่มีประสิทธิภาพ
เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ


ส่งเสริมสิทธิ สร้างการรับรู้และความเข้าใจ (Understanding)
ให้คนทั้งหลายเข้าใจเรื่อง สิทธิเสรีภาพความเท่าเทียม ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และรู้จักที่จะปกป้องหวงแหนสิทธิเหล่านี้ ทั้งนี้ ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กาลังอยู่ระหว่างการยกร่าง ก็จะมีการสร้างหมวดใหม่ขึ้นมา ซึ่งไม่เคยมีในรัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ผ่านมา กล่าวคือ หมวดที่ว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน


สร้างสังคม (Social Responsibility)
คือ สร้างสังคมไทยที่เป็นสังคมที่เคารพสิทธิมนุษยชน เคารพกฎหมาย มีระเบียบ มีวินัย มีความรับผิดชอบ รู้จักสิทธิ และตระหนักในหน้าที่ รู้จักที่จะไม่ใช้สิทธิของตนไปล่วงล้าก้าวก่ายสิทธิของผู้อื่น


สู่สันติสุข (To Happiness)
คือ การนำประเทศไปสู่สันติสุข เมื่อใดที่สังคมไทยเป็นสังคมที่ตระหนักในสิทธิหน้าที่ คนทั้งหลายรู้จักสิทธิตนและไม่ยอมให้ใครมาล่วงล้าโดยไม่ชอบ เมื่อนั้นสังคมไทยก็จะเกิดสันติสุข ปรองดอง และรู้รักสามัคคี


ตัวย่อของหลักทั้ง 4 ในภาษาอังกฤษ เมื่อเอามารวมกัน จะเป็นคำว่า "JUST" (Joint Cooperation, Understanding, Social Responsibility, To Happiness) ซึ่งแปลว่า "ความถูกต้องเป็นธรรม" ซึ่งเป็นสิ่งที่พึงมีในสังคม

ทั้งนี้ หวังว่าหน่วยงานทั้งหลายจะนาแผนสิทธิฯ ฉบับนี้ ไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานของตนอย่างเต็มที่ เพื่อให้ประเทศของเราไปสู่สภาพที่เรียกว่าสังคมสันติสุข โดยเกิดความชอบธรรมและความเป็นธรรม การปฏิรูปอย่างเดียวอาจจะทาให้เกิดสังคมสันติสุขได้ไม่ครบถ้วน แต่การที่สังคมมีความตื่นตัว ตระหนัก และมีสิทธิเสรีภาพรวมถึงความเท่าเทียม อีกทั้งเคารพซึ่งศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สังคมนั้นย่อมมีวิถีทางสู่สันติสุขได้



เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ย้อนกลับ