ICCPR

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

ตราสารระหว่างประเทศ
ด้านสิทธิมนุษยชน

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR)

TH | EN
สาระสำคัญ
  • ส่วนที่ 1 (ข้อ 1)
    กล่าวถึงสิทธิในการกำหนดเจตจำนงตนเอง
  • ส่วนที่ 2 (ข้อ 2-5)
    กล่าวถึงพันธกรณีของรัฐภาคีที่รับรองจะเคารพและประกันสิทธิของบุคคล รวมถึงการห้ามเลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง สัญชาติ สถานะทางเศรษฐกิจ สังคม ถิ่นกำเนิด หรือสภาพอื่นใด
  • ส่วนที่ 3 (ข้อ 6-27)
    กล่าวถึงสาระของสิทธิในส่วนที่เป็นสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง อาทิ เสรีภาพในการมีชีวิต เสรีภาพจากการถูกทรมาน การห้ามมิให้บุคคลถูกจับกุมตามอำเภอใจ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก
  • ส่วนที่ 4 (ข้อ 28-45)
    กล่าวถึงการจัดตั้งคณะกรรมการการสิทธิมนุษยชน พันธกรณีของรัฐในการจัดทำรายงานของรัฐภาคี และการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ
  • ส่วนที่ 5 (ข้อ 46-47)
    กล่าวถึงห้ามการตีความไปในทางขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศอื่นๆ รวมทั้งการมีให้ตีความในการที่จะลิดรอนสิทธิที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ธรรมชาติิ
วัน/เดือน/ปี
การเข้าเป็นภาคี

ไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 และมีผลใช้บังคับกับไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2540

คำแถลงตีความ (Declaration) /
ข้อสงวน (Reservation)

ไทยมีคำแถลงตีความใน 2 ประเด็นคือ

  • (1) การใช้สิทธิการกำหนดเจตจำนงตนเอง ซึ่งไทยมิให้ตีความว่า อนุญาตหรือสนับสนุนการกระทำใด ๆ ที่จะเป็นการแบ่งแยกดินแดน และ
  • (2) เรื่องการห้ามโฆษณาชวนเชื่อเพื่อสงคราม นั้นไทยถือว่าไม่รวมถึงสงครามเพื่อป้องกันตนเอง ในกรณีที่ไทยจำเป็นต้องประชาสัมพันธ์และชักชวนให้ประชาชนรักชาติในกรณีที่ต้องทำสงครามเพื่อป้องกันการ รุกรานจากประเทศอื่น

พิธีสารเลือกรับของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
(Optional Protocol to the ICCPR)

ไทยยังไม่เข้าเป็นภาคี


พิธีสารเลือกรับของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ฉบับที่ 2 เพื่อการกำจัดการประหารชีวิต (Second Optional Protocol to the ICCPR, aiming at the abolition of death penalty )

ไทยยังไม่เข้าเป็นภาคี


ย้อนกลับ