CRC

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

ตราสารระหว่างประเทศ
ด้านสิทธิมนุษยชน

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
Convention on the Rights of the Child (CRC)

TH | EN

สาระสำคัญ
  • ส่วนที่ 1 (ข้อ 1-41)
    กล่าวถึงหลักการและเนื้อหาเกี่ยวกับสิทธิต่างๆ ที่เด็กพึงได้รับ ประกอบด้วย สิทธิและเสรีภาพของเด็กโดยทั่วไป การคุ้มครองร่างกาย ชีวิต เสรีภาพ และสวัสดิภาพของเด็ก การให้สวัสดิการสังคมแก่เด็ก การคุ้มครองสิทธิทางแพ่ง การคุ้มครองเด็กที่มีปัญหาความประพฤติหรือกระทำความผิดทางอาญา การคุ้มครองเด็กผู้ด้อยโอกาส
  • ส่วนที่ 2 (ข้อ 42-45)
    กล่าวถึงหลักเกณฑ์และแบบพิธีซึ่งประเทศที่ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาต้องปฏิบัติตาม
  • ส่วนที่ 3 (ข้อ 46-54)
    กล่าวถึงกลไกของอนุสัญญา ซึ่งกำหนดวิธีการติดตามดูแลการปฏิบัติตามอนุสัญญา และกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ในการใช้บังคับ
วัน/เดือน/ปี
การเข้าเป็นภาคี

ไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ
เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2535 และมีผลใช้บังคับกับไทย เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2535

คำแถลงตีความ (Declaration) /
ข้อสงวน (Reservation)

ไทยมีข้อสงวนในข้อ 22 เรื่องสถานะของเด็กผู้ลี้ภัย


พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
เรื่อง การขายเด็ก การค้าประเวณี และสื่อลามกเกี่ยวกับเด็ก

ตราสารระหว่างประเทศ
ด้านสิทธิมนุษยชน

พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
เรื่อง การขายเด็ก การค้าประเวณี และสื่อลามกเกี่ยวกับเด็ก
Optional Protocol to the CRC on the sale of children, child prostitution and child pornography

TH | EN
สาระสำคัญ

เป็นพิธีสารเพิ่มเติมอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กข้อ 32, 34, 35 ซึ่งว่าด้วยการแสวงประโยชน์จากเด็กทางเศรษฐกิจและทางเพศ

  • ส่วนที่ 1 (ข้อ 1-3)
    กล่าวถึงการห้ามให้มีและกำหนดให้เป็นความผิดทางอาญาสำหรับการขายเด็ก การค้าประเวณี และสื่อลามกเกี่ยวกับเด็ก
  • ส่วนที่ 2 (ข้อ 4-6)
    กล่าวถึงมาตรการในการกำหนดเขตอำนาจความผิดการส่งผู้ร้ายข้ามแดนและการสืบสวน
  • ส่วนที่ 3 (ข้อ 7-10)
    กล่าวถึงมาตรการในการริบทรัพย์ที่เกี่ยวกับการกระทำผิด มาตรการคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของเด็ก นโยบายป้องกัน แก้ไข และส่งเสริมความตระหนักรู้ของสาธารณชน และความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกัน แก้ไขปัญหาการบำบัดฟื้นฟู และส่งกลับเด็กผู้รับเคราะห์
  • ส่วนที่ 4 (ข้อ 11-17)
    กล่าวถึงการจัดทำรายงานผลการดำเนินการตามพิธีสารเลือกรับ
วัน/เดือน/ปี
การเข้าเป็นภาคี

ไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ
เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2549 และมีผลใช้บังคับกับไทย เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2549


พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
เรื่อง ความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยกำลังอาวุธ

ตราสารระหว่างประเทศ
ด้านสิทธิมนุษยชน

พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
เรื่อง ความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยกำลังอาวุธ
Optional Protocol to the CRC on the involvement of children in armed conflicts

TH | EN
สาระสำคัญ

เป็นพิธีสารเพิ่มเติมอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กข้อ 38 เกี่ยวกับห้ามการเกณฑ์เด็กเป็นทหารในภาวะสงคราม

  • ส่วนที่ 1 (ข้อ 1-4)
    กล่าวถึงหลักการเกี่ยวกับการประกันว่าบุคคลที่อายุไม่ถึง 18 ปี จะไม่ถูกเกณฑ์เข้าร่วมในการสู้รบในกองทัพของรัฐ หรือกลุ่มกองกำลังติดอาวุธ
  • ส่วนที่ 2 (ข้อ 5-7)
    กล่าวถึงการบังใช้กฎหมายภายในประเทศและระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการดำเนินการตามข้อบทของพิธีสาร และการให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือระดับพหุภาคีหรือทวิภาคีในการฟื้นฟูด้าน วิชาการและด้านการเงิน
  • ส่วนที่ 3 (ข้อ 8-13)
    กล่าวถึงการจัดทำรายงานผลการดำเนินการตามพิธีสารเลือกรับ
วัน/เดือน/ปี
การเข้าเป็นภาคี

ไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2549 และมีผลใช้บังคับกับไทย เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2549

คำแถลงตีความ (Declaration) /
ข้อสงวน (Reservation)

ไทยมีคำแถลงตีความข้อ 3 วรรค 2 สรุปว่า การปฏิบัติหน้าที่การทหารเป็นหน้าที่อันพึงปฏิบัติตามกฎหมาย ชายไทยเมื่ออายุย่าง 18 ปี มีหน้าต้องแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน ซึ่งอาจถูกเรียกให้ปฏิบัติราชการทหารในกองได้ยามประเทศทีสงครามหรือประสบ ภาวะวิกฤต การคัดเลือกบุคคลเข้าสู่โรงเรียนทหารเหล่าต่างๆ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสมัครใจ การผ่านการสอบคัดเลือก และต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งชายและหญิง สามารถเข้ารับการฝึกวิชาทหารได้โดยต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง และการจัดตั้งกองกำลังอื่นใดที่ไม่ได้จัดตั้งขึ้นโดยรัฐ เป็นข้อห้ามตามกฎหมาย โดยไม่มีข้อยกเว้นในเรื่องอายุของผู้เข้าร่วมแต่อย่างใด


พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
เรื่อง กระบวนการติดต่อร้องเรียน

ตราสารระหว่างประเทศ
ด้านสิทธิมนุษยชน

พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
เรื่อง กระบวนการติดต่อร้องเรียน
Optional Protocol to the CRC on a communications procedure

TH | EN
สาระสำคัญ
  • ส่วนที่ 1 (ข้อ 1-4)
    กล่าวถึงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิเด็ก หลักการทั่วไปเกี่ยวกับหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ระเบียบขั้นตอน และมาตรการคุ้มครองเพื่อรับประกันว่าเด็กหรือผู้แทนเด็กจะไม่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
  • ส่วนที่ 2 (ข้อ 5-12)
    กล่าวถึงกระบวนการติดต่อร้องเรียน มาตรการชั่วคราว การรับข้อร้องเรียนไว้พิจารณา การส่งต่อข้อร้องเรียนให้รัฐภาคี การระงับข้อพิพาทอย่างฉันมิตร การพิจารณาข้อร้องเรียน และการติดตาม
  • ส่วนที่ 3 (ข้อ 13-14)
    กล่าวถึงกระบวนการไต่สวนกรณีการละเมิดที่ร้ายแรงหรือเป็นระบบ และกรณีที่รัฐภาคีละเมิดสิทธิในอนุสัญญาหรือพิธีสารเลือกรับ
  • ส่วนที่ 4 (ข้อ 15-24)
    กล่าวถึงความช่วยเหลือและความร่วมมือระหว่างประเทศ การรายงานต่อสมัชชาสหประชาชาติของคณะกรรมการ การเผยแพร่และการให้ข้อมูลของรัฐภาคี การลงนาม การให้สัตยาบันและการภาคยานุวัติ และการใช้บังคับพิธีสาร
วัน/เดือน/ปี
การเข้าเป็นภาคี

ไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ
เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2555    และมีผลใช้บังคับกับไทย เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2557


ย้อนกลับ