CEDAW

อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ

ตราสารระหว่างประเทศ
ด้านสิทธิมนุษยชน

อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women (CEDAW)

TH | EN
สาระสำคัญ
  • ส่วนที่ 1(ข้อ 1-6)
    กล่าวถึงคำจำกัดความของคำว่าการเลือกปฏิบัติต่อสตรี พันธกรณีของรัฐภาคี มาตรการที่รัฐภาคีต้องดำเนินการเพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าของสตรี ฯลฯ
  • ส่วนที่ 2 (ข้อ 7-9)
    กล่าวถึงความเท่าเทียมกันระหว่างบุรุษและสตรีในด้านการเมืองและการดำรงชีวิต
    เช่น สิทธิในการเลือกตั้ง
  • ส่วนที่ 3 (ข้อ 10-14)
    กล่าวถึงสิทธิของสตรีที่จะต้องได้รับการดูแลทางเศรษฐกิจ การป้องกันความรุนแรงต่อสตรีในสถานที่ทำงาน และการเข้าถึงบริการสุขภาพ ฯลฯ
  • ส่วนที่ 4 (ข้อ 15-16)
    กล่าวถึงความเท่าเทียมกันของบุรุษและสตรีในด้านกฎหมาย
  • ส่วนที่ 5(ข้อ 17-22)
    กล่าวถึงการจัดตั้งคณะกรรมการการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ พันธกรณีของรัฐในการจัดทำรายงานของรัฐภาคี และการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ
  • ส่วนที่ 6 (ข้อ 23-30)
    กล่าวถึงการมิให้มีข้อบทของอนุสัญญาที่จะขัดต่อกฎหมายภายในที่ดำเนินการ มากกว่าที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศที่มีอยู่ การนำพันธกรณีไปปฏิบัติในระดับประเทศ ฯลฯ
วัน/เดือน/ปี
การเข้าเป็นภาคี

ไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2528 และมีผลใช้บังคับกับไทยเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2528

คำแถลงตีความ (Declaration) /
ข้อสงวน (Reservation)

ไทยมีคำแถลงตีความว่า ข้อบทในอนุสัญญา CEDAW ต้องสอดคล้องกับรัฐรรรมนูญไทย

ไทยมีข้อสงวนในข้อ 29 เกี่ยวกับการเสนอเรื่องให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิจารณา ในกรณีการพิพาทระหว่างรัฐภาคี


พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ

ตราสารระหว่างประเทศ
ด้านสิทธิมนุษยชน

พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
Optional Protocol to the CEDAW

TH | EN
สาระสำคัญ

การยอมรับอำนาจของคณะกรรมการประจำอนุสัญญาฯ ในการรับและพิจารณาเรื่องร้องเรียน ในกรณีที่มีการละเมิดพันธกรณีที่ปรากฏในอนุสัญญาฯ ที่เกี่ยวข้องกับรัฐภาคี โดยผู้ร้องเรียนอาจเป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในนามของผู้ถูกละเมิดสิทธิได้

วัน/เดือน/ปี
การเข้าเป็นภาคี

ไทยเข้าเป็นภาคีโดยการให้สัตยาบัน
เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2543 และมีผลใช้บังคับกับไทยเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2543


ย้อนกลับ